วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558

Evaluation of RADARSAT Standard Beam data for identification of potato and rice crops in India
S. Panigrahy, K.R. Manjunath, M. Chakraborty, N. Kundu, J.S. Parihar

ดาวเทียม RADARSAT ของแคนนาดา ถูกปล่อยขึ้นสู่วงโคจรในเดือน พฤศจิกายน 1995 ประกอบด้วย ช่วยคลื่น C-Band HH polarisation Synthetic Aperture Radar (SAR) มีความหลากหลายทางด้านแง่มุมและความละเอียดเชิงพื้นที่ ในการศึกษานี้ ข้อมูล the Standard Beam S7 SAR ที่มุม 45-49 องศา นั้นได้ถูกใช้ในการแยกแยะให้เห็นความแตกต่างระหว่างพื้นที่ปลูกข้าวกับมันฝรั่ง ในการเจริญเติบโตในพื้นที่ west ฺBengal โดยได้ข้อมูลมาทั้งหมด 4่ ช่วงเวลา ในทุกๆ 24 วันของรอบการบันทึก ระหว่างวันที่ 2 มกราคม ถึง 15 มีนาคม 1997 ถูกใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะการสะท้อนในแต่ละช่วงเวลาของพืชเหล่านี้ ที่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโต ในช่วงที่ 2, 3 และ 4 นั้นถูกใช้ในการจำแนกพืช ในผลการศึกษาพบว่าการสะท้อนกลับที่มีค่าต่ำที่สุดอยู่ในพื้นที่นาข้าวในระยะเริ่มเพาะปลูกที่มีน้ำขังอยู่ในแปลงพื้นที่ และการมีการเพิ่มขึ้นตามกระบวนการเจริญเติบโต ในการสะท้อนกลับนั้นพบว่า มีช่วงการเปลี่ยนแปลง จาก -18 dB ถึง -8 dB จากพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลานั้นมีความเหมือนกับข้อมูล ERS-SAR ความถูกต้องจากการจำแนกประเภทข้อมูลในพื้นที่เพาะปลูกข้าว พบว่า 94% โดยการใช้ข้อมูลทั้ง 4 ช่วงเวลา ในการใช้ข้อมูล 2 ช่วงเวลามีความสอดคล้องกัลในช่วงที่มีการเตรียมการเพาะปลูกของพืชและสอดคล้องกับการเจริญเติบโตในระยะอื่นๆ ผลการศึกษาทีความถูกต้อง 92 % การสำรวจสุดท้ายเป็นความสนใจโดยเฉพาะคือการประมาณพื้นที่เพาะปลูกในช่วง 20-30 วันของการเจริญเติบโต  เช่นการประเมินการเจริญเติบโตในระยะแรกนั้นไม่เป็นไปได้ โดยการใช้ข้อมูล optical remote sensing การสะท้อนกลับของมันฝรั่งมีความแตกต่างในช่วง -9 dB ถึง -6 dB ระหว่างการเจริญเติบโตและแสดงความแตกต่างอย่างมากในช่วงการเติบโตของพืชในระยะแรก ข้อมูลสองช่วงเวลาอยู่ในช่วงระหว่าง 40-45 วัน ของการเจริญเติบโตจากการวัดค่า โดยผลลัพท์คือ 93 % จากการจำแนกความถูกต้องของมันฝรั่ง ในการรวบรวมด้านอื่นของ ข้อมูลสองช่วงเวลานั้นมีค่าความถูกต้องน้อยกว่า 90 % ของมันฝรั่ง
Land use and land cover change affecting habitat distribution in the Segara Anakan lagoon, Java, Indonesia

Erwin Riyanto Ardil - Matthias Wolff

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินในเขตพื้นที่ Segara Anakan lagoon, Java, Indonesia ในช่วงปี 1987-2006 โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม 4 ช่วงเวลา ได้แก่ 1987, 1995, 2004 และ 2006 โดยใช้ข้อมูล Ground control point ในปี 2004 และ 2005 และข้อมูลการตรวจสอบความถูกต้องในปี 2004 จากการวิจัยพบว่า ในช่วงตะวันตกของพื้นที่ศึกษา มีการเพิ่มขึ้นของพื้นที่การปลูกข้าวโพด และการการทำการเกษตรแบบแห้งแล้ง การเพาะเลี้ยวสัตว์น้ำและพื้นที่ชนบท โดยมีการลดลงของพื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่โคลนและทะเลสาป ในส่วนของทางตะวันออก มีการลดลงของป่าชายเลนและมีการเพิ่มขึ้นของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่อยู่อาศัยและแหล่งอุตสาหกรรมที่ได้จาการสำรวจ การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดการการเติมเต็มของตะกอนในทะเลสาป ที่มีการไหลจากพื้นที่ด้านในลงมาในทะเลสาป ผลจากการศึกษานี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการต้องการพัฒนาพื้นที่ไปข้างหน้าเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรต่อไป